วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16

วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* แสดงความคิดเห็นต่อการใช้แท็บเล็ตของชั้น ป.1 และแนวโน้มที่อาจจะใช้ในระดับชั้นอนุบาล

* วิธีการเรียนรู้

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15

วันอังคาร ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนอผลการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์  โดยมีข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ดังนี้
   1. ก่อนการนำเสนอใดๆ  ต้องมีการกล่าวแนะนำผู้รับฟังอย่างเป็นทางการ
   2. ก่อนทำการทดลองต้องใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กมีการตั้งสมมติฐาน
   3. เมื่อจบการทดลองต้องเชื่อมโยงเข้าสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

* ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการเดินทางของแสง
   1. ตั้งคำถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น 
        - เด็กๆรู้จักแสงหรือไม่ 
        - เด็กๆเคยเห็นแสงอะไรบ้าง  เห็นจากที่ไหนบ้าง
        - แสงที่เด็กๆเห็นเป็นอย่างไรบ้าง
   2. ตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การตั้งสมมติฐานของการทดลอง
        - เด็กๆคิดว่าแสงจะเดินทางได้อย่างไร
   3. เริ่มทำการทดลองตามขั้นตอน
        - ให้เด็กทีละคนมองผ่านรูของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดที่ตั้งเป็นแนวตรงกัน
          แล้วถามว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้าง
        - เลื่อนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นที่ 2 ไปด้านข้างเล็กน้อย 
          แล้วให้เด็กมองผ่านรูของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดอีกครั้ง แล้วถามว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้าง
   4. สรุปผลการทดลอง
        - เมื่อรูทั้ง 3 รูอยู่ในแนวเดียวกันกับแหล่งกำเนิดแสง แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง
   5. การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
        - การเดินทางของแสงมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมากมาย เช่น แสงทำให้เกิดความสว่าง
          สามารถทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน เป็นต้น 


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14

วันอังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


   การทดลองเรื่อง  การเดินทางของแสง
      - แนวคิด  : แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทาง
      - อุปกรณ์ :
          1. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 5*5 นิ้ว  จำนวน 3 แผ่น
          2. คลิปหนีบกระดาษ จำนวน 3 ตัว
          3. เทียนไข
          4. ไฟแช็ก
      - ขั้นตอนการทดลอง :
          1. ตัดแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 5*5 นิ้ว  แล้วเจาะรูตรงกลาง
          2. ติดคลิปหนีบกระดาษลงไปที่กึ่งกลางของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดทั้ง 3 แผ่น
          3. จุดเทียนไข
          4. จัดวางแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดทั้ง 3 แผ่น ให้ตรงกับเทียนไขในแนวตั้ง
          5. สังเกตโดยการมองแสงเปลวเทียนไขผ่านรูตรงกลางของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
          6. เลื่อนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นที่ 2 ไปด้าข้างเล็กน้อย  แล้วสังเกตดูอีกครั้ง
      - สรุปผลการทดลอง 
          1. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง  เมื่อรูทั้ง 3 รูอยู่ในแนวเดียวกัน จะมองเห็นแสงจากเปลวเทียนไข


   

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

วันอังคาร ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ส่งงานการจัดป้ายนิเทศ และอาจารย์ได้แนะนำวิธีการตกแต่งขอบของป้ายนิเทศ

* ส่งงานกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และอาจารย์แนะนำขั้นตอนการเตรียมงาน
   เพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

งานที่ได้รับมอบหมาย

* จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

วันอังคาร ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  แต่จะทำการสอนชดเชย

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันอังคาร ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* แนวคิด = แก่น เนื้อหา หรือข้อสรุปที่ใช้เชื่อมโยงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ

* กิจกรรมวิทยาศาสตร์
  1. ใครใหญ่
      - แนวคิด  : น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือเราเอง
      - ขั้นตอน :
         1. นำขวดแก้วใสวางไว้
         2. เทน้ำใส่ลงไปครึ่งขวด ทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้ 
         3. ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน
         4. ครูทำเตรื่องหมายกำกับของทุกคนไว้
         5. ให้เด็กช่วยสรุปผลการทดลอง
      - สรุปผล : ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะสูงขึ้นมาจากเดิม ตามขนาดเท่ากับฝ่ามือของเด็กแต่ละคน
  
  2. ใบไม้สร้างภาพ
      - แนวคิด  : สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง
      - ขั้นตอน :
         1. เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
         2. นำกระดาษวาดเขียนมาพับแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
         3. วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่ทับไว้
         4. ใช้ค้อนไม้ค่อยๆเคาะบนกระดาษบริเวณที่มีใบไม้
         5. เมื่อเปิดกระดาษวาดเขียนออก ให้เด็กๆช่วยหาเหตุผล
      - สรุปผล :
         1. น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขึ้นมาบนกระดาษ
         2. โครงร่างที่ได้นี้จะเหมือนกับใบไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ
         3. สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติ ที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

  3. มาก่อนฝน
      - แนวคิด  : น้ำเมื่อได้รับความร้อน บางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า ไอน้ำ
      - ขั้นตอน :
         1. นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้ และให้เด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
         2. เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวด วางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
         3. เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
         4. อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่ 2
         5. เมื่อหยุดเป่าลมจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ
      - สรุปผล :
         1. เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวด ซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
         2. กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจายต่อไป
         3. สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ 

  4. ทำให้ร้อน
      - แนวคิด  : แรงเสียดทานเป็นแรงซึ่งพยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆ 
                         พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทาน แรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน
      - ขั้นตอน :
         1. ครูแจกดินสอและหนังสือให้เด็กคนละ 1 ชุด
         2. ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
         3. ถูไปมากับสันหนังสือประมาณ 3 วินาที
         4. นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่น แขน ริมฝีปาก เป็นต้น
         5. เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
      - สรุปผล :
         1. แรงเสียดทานระหว่างดินสอกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
         2. นำส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือของดินสอมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดสว่นหนึ่ง
             โดยเฉพาะริมฝีปาก จะมีความรู้สึกว่าร้อน

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. แบ่งกลุ่มๆละ 4 คน คิดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันอังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะทำการเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9

วันอังคาร ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  แต่จะทำการเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8

วันอังคาร ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสอบกลางภาค

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7

วันอังคาร ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* แหล่งการเรียนรู้

* การออกแบบหน่วยการเรียนที่ครูต้องรับผิดชอบ
  1. ตั้งคำถาม
  2. วาดรูป
  3. เล่าเรื่องตามภาพต่อๆกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นวรรณกรรม แล้วสรุปโดยการตั้งชื่อเรื่อง
  4. งานศิลปะ เช่น ทำโมเดล ประดิษฐ์ตู้ปลา เป็นต้น

* วิธีการทำให้เด็กได้เรียนรู้
  1. ดูจากของจริง โดยร่วมกันนำมาจัดสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้
  2. ดูจาก VDO หรือรูปภาพ
  3. ไปทัศนศึกษา หาผู้รู้มาเล่า
  4. สาธิตโดยการประกอบอาหาร

* การสะท้อนกลับ ( เด็กต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง )
  1. แสดงบทบาทสมมติ
  2. เกม
  3. นิทรรศการ
  4. แต่งเพลง , แต่งนิทาน , แต่งกลอน

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. เขียนแผนการสอนตามหน่วยการเรียนที่ได้รับผิดชอบ
2. แบ่งกลุ่มๆละ 11 คนทำฐานวิทยาศาสตร์

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 6

วันอังคาร ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เป้าหมายของการทำของเล่น
  1. เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น
  2. การเล่นเป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  3. การเล่นเด็กจะมีอิสระในการเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง ทำให้เกิดความสนุกสนาน
  4. การเล่นทำให้มีการวางแผน จัดลำดับอย่างมีขั้นตอน

* การเล่นเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร?
  1. ได้ทักษะการสังเกต โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  2. เห็นกระบวนการของการเล่นในแต่ละขั้นตอน
  3. มีการสนทนา เกิดการซักถาม

* การจัดประสบการณ์โดยการจำแนกสำหรับเด็ก จะใช้เกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์เท่านั้น

* ทำกิจกรรมเขียนสรุปหน่วยการเรียนของอนุบาลทั้ง 3 ชั้นปี

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. เขียนประสบการณ์สำคัญตามหน่วยการเรียนที่รับผิดชอบ

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 5

วันอังคาร ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ส่งงาน หน่วยการเรียนที่แก้ไขใหม่ เรื่อง วันแม่

* นำเสนองานสื่อวิทยาศาสตร์
   ข้อเสนอแนะ คือ เขียนเพิ่มเติมในเรื่อง เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                       
   ของเล่นวิทยาศาสตร์ " กระดาษเต้นระบำ "                 สิ่งที่สอนให้เด็กได้ทำ " จรวดวงแหวน"

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 4

วันอังคาร ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ส่งงาน หน่วยการเรียน เรื่อง วันแม่
   ข้อเสนอแนะ คือ เพิ่มรายละเอียดให้มากกว่านี้

* สิ่งที่ได้รับจากการดูหนัง

* ดู VDO เรื่อง วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก
   1. ใช้เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์โดยวิธีการทดลอง
   2. การเรียงลำดับเรื่องราว  เรียงจากง่ายไปหายาก
   3. จัดลำดับเรื่องราวด้วยตัวละคร
   4. เนื้อหา คือ น้ำ
       - น้ำเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิต โดยการยกตัวอย่าง ทำทดลอง และสรุป
       - การขาดน้ำ
       - คุณสมบัติของน้ำ ทดลองให้เห็นจริง
   5. ข้อคิด
       - รู้เทคนิควิธีสอน
       - การใช้สื่อประกอบการสอน
       - การใช้คำถามในการจัดประสบการณ์
       - การใช้ตัวอย่าง
       - แอนิเมชั่นต้องมีเพื่อให้เห็นภาพ เพราะบางครั้งอธิบายไม่ได้

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. รวมหน่วยการสอนทั้ง 3 ชั้นปี
2. แบ่งกลุ่มๆละ 2 คน ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
3. กลุ่มเดิม คิดการสอนวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 3

วันอังคาร ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* การสรุปองค์ความรู้โดยใช้ mind mapping

* ส่งงานตัวอย่างสาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง มังคุด

* พัฒนาการ = การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน 
   แสดงออกถึงความสามารถทั้ง 4 ด้าน

* เพียเจต์ ขั้นที่ 1 แรกเกิด-2 ปี ใช้ Sensori Motor ขั้นประสาทสัมผัส
              ขั้นที่ 2 อายุ 2-4 ปี ขั้นอนุรักษ์ = ตอบตามตาเห็นยังขาดเหตุผล

* รับรู้ > เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม > เรียนรู้

* หลักการเลือกเนื้อหาการเรียน ( วิทยาศาสตร์ = สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา )
   1. เรื่องใกล้ตัว
   2. เรื่องที่เป็นผลกระทบ

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน ดูหน่วยการเรียนในโรงเรียนสาธิตฯ กลุ่ม 7 อนุบาลปีที่ 3 
 

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 2

วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม      รับรู้ = ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

* ทำกิจกรรมเขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนในรายวิชา
   การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3 ปี
2. แบ่งกลุ่มๆละ 4 คน ยกตัวอย่างสาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์มา 1 ตัวอยาง



วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 1

วันอังคาร ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* อธิบายข้อตกลงการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. สร้าง Blog
2. Link VDO เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. Link มาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


*** VDO ของเล่นและของใช้ ***


สรุปจาก VDO
    คุณครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ  สอนเด็กอนุบาลที่โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โดยให้เด็กๆได้รู้จักของเล่นและของใช้  โดยให้เด็กได้สังเกต  แยกประเภทของเล่นของใช้ 
รู้จักประโยชน์ของสิ่งของ  การเก็บสิ่งของให้เข้ากลุ่มกันอย่างเป็นระเบียบ  สร้างแรงจูงใจ
ในการเรียนรู้โดยการใช้นิทานที่เกี่ยวกับของเล่นของใช้  แล้วเอาสิ่งของที่ได้เล่าไปแอบ
ตามมุมห้อง  เพื่อให้เด็กช่วยกันค้นหา  ซึ่งทำให้เด็กๆรู้สึกตื่นเต้นที่ได้หาของเจอ  แล้วให้เด็ก
สังเกตสิ่งของที่หามาได้  เพื่อนำไปจำแนกจัดกลุ่มระหว่างของใช้กับของเล่น

การนำไปประยุกต์ใช้
    การสอนเรื่องของเล่นและของใช้สามารถเชื่อมโยงกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัยได้  โดยเด็กจะได้ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์  เช่น ทักษะการสังเกต  
ทักษะการจำแนกประเภท  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  เป็นต้น
    บทบาทของครูจะต้องดูแลเอาใจใส่  สนใจ  อยู่ใกล้ชิดกับเด็กให้มากที่สุด  
และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก