วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16

วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* แสดงความคิดเห็นต่อการใช้แท็บเล็ตของชั้น ป.1 และแนวโน้มที่อาจจะใช้ในระดับชั้นอนุบาล

* วิธีการเรียนรู้

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15

วันอังคาร ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* นำเสนอผลการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์  โดยมีข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ดังนี้
   1. ก่อนการนำเสนอใดๆ  ต้องมีการกล่าวแนะนำผู้รับฟังอย่างเป็นทางการ
   2. ก่อนทำการทดลองต้องใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กมีการตั้งสมมติฐาน
   3. เมื่อจบการทดลองต้องเชื่อมโยงเข้าสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

* ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการเดินทางของแสง
   1. ตั้งคำถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น 
        - เด็กๆรู้จักแสงหรือไม่ 
        - เด็กๆเคยเห็นแสงอะไรบ้าง  เห็นจากที่ไหนบ้าง
        - แสงที่เด็กๆเห็นเป็นอย่างไรบ้าง
   2. ตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การตั้งสมมติฐานของการทดลอง
        - เด็กๆคิดว่าแสงจะเดินทางได้อย่างไร
   3. เริ่มทำการทดลองตามขั้นตอน
        - ให้เด็กทีละคนมองผ่านรูของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดที่ตั้งเป็นแนวตรงกัน
          แล้วถามว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้าง
        - เลื่อนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นที่ 2 ไปด้านข้างเล็กน้อย 
          แล้วให้เด็กมองผ่านรูของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดอีกครั้ง แล้วถามว่า เด็กๆเห็นอะไรบ้าง
   4. สรุปผลการทดลอง
        - เมื่อรูทั้ง 3 รูอยู่ในแนวเดียวกันกับแหล่งกำเนิดแสง แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง
   5. การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
        - การเดินทางของแสงมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมากมาย เช่น แสงทำให้เกิดความสว่าง
          สามารถทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน เป็นต้น 


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14

วันอังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


   การทดลองเรื่อง  การเดินทางของแสง
      - แนวคิด  : แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทาง
      - อุปกรณ์ :
          1. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 5*5 นิ้ว  จำนวน 3 แผ่น
          2. คลิปหนีบกระดาษ จำนวน 3 ตัว
          3. เทียนไข
          4. ไฟแช็ก
      - ขั้นตอนการทดลอง :
          1. ตัดแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 5*5 นิ้ว  แล้วเจาะรูตรงกลาง
          2. ติดคลิปหนีบกระดาษลงไปที่กึ่งกลางของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดทั้ง 3 แผ่น
          3. จุดเทียนไข
          4. จัดวางแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดทั้ง 3 แผ่น ให้ตรงกับเทียนไขในแนวตั้ง
          5. สังเกตโดยการมองแสงเปลวเทียนไขผ่านรูตรงกลางของแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
          6. เลื่อนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นที่ 2 ไปด้าข้างเล็กน้อย  แล้วสังเกตดูอีกครั้ง
      - สรุปผลการทดลอง 
          1. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง  เมื่อรูทั้ง 3 รูอยู่ในแนวเดียวกัน จะมองเห็นแสงจากเปลวเทียนไข


   

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

วันอังคาร ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ส่งงานการจัดป้ายนิเทศ และอาจารย์ได้แนะนำวิธีการตกแต่งขอบของป้ายนิเทศ

* ส่งงานกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และอาจารย์แนะนำขั้นตอนการเตรียมงาน
   เพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

งานที่ได้รับมอบหมาย

* จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

วันอังคาร ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน  แต่จะทำการสอนชดเชย

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันอังคาร ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555


เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* แนวคิด = แก่น เนื้อหา หรือข้อสรุปที่ใช้เชื่อมโยงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ

* กิจกรรมวิทยาศาสตร์
  1. ใครใหญ่
      - แนวคิด  : น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือเราเอง
      - ขั้นตอน :
         1. นำขวดแก้วใสวางไว้
         2. เทน้ำใส่ลงไปครึ่งขวด ทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้ 
         3. ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน
         4. ครูทำเตรื่องหมายกำกับของทุกคนไว้
         5. ให้เด็กช่วยสรุปผลการทดลอง
      - สรุปผล : ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะสูงขึ้นมาจากเดิม ตามขนาดเท่ากับฝ่ามือของเด็กแต่ละคน
  
  2. ใบไม้สร้างภาพ
      - แนวคิด  : สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง
      - ขั้นตอน :
         1. เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
         2. นำกระดาษวาดเขียนมาพับแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
         3. วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่ทับไว้
         4. ใช้ค้อนไม้ค่อยๆเคาะบนกระดาษบริเวณที่มีใบไม้
         5. เมื่อเปิดกระดาษวาดเขียนออก ให้เด็กๆช่วยหาเหตุผล
      - สรุปผล :
         1. น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขึ้นมาบนกระดาษ
         2. โครงร่างที่ได้นี้จะเหมือนกับใบไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ
         3. สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติ ที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

  3. มาก่อนฝน
      - แนวคิด  : น้ำเมื่อได้รับความร้อน บางส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า ไอน้ำ
      - ขั้นตอน :
         1. นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้ และให้เด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
         2. เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวด วางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
         3. เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
         4. อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่ 2
         5. เมื่อหยุดเป่าลมจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ
      - สรุปผล :
         1. เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวด ซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
         2. กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผ่กระจายต่อไป
         3. สภาพภายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ 

  4. ทำให้ร้อน
      - แนวคิด  : แรงเสียดทานเป็นแรงซึ่งพยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆ 
                         พลังงานจำเป็นต้องเอาชนะแรงเสียดทาน แรงเสียดทานนี้เป็นความร้อน
      - ขั้นตอน :
         1. ครูแจกดินสอและหนังสือให้เด็กคนละ 1 ชุด
         2. ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
         3. ถูไปมากับสันหนังสือประมาณ 3 วินาที
         4. นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่น แขน ริมฝีปาก เป็นต้น
         5. เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
      - สรุปผล :
         1. แรงเสียดทานระหว่างดินสอกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
         2. นำส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือของดินสอมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดสว่นหนึ่ง
             โดยเฉพาะริมฝีปาก จะมีความรู้สึกว่าร้อน

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. แบ่งกลุ่มๆละ 4 คน คิดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันอังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะทำการเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555