วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 3

วันอังคาร ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* การสรุปองค์ความรู้โดยใช้ mind mapping

* ส่งงานตัวอย่างสาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง มังคุด

* พัฒนาการ = การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน 
   แสดงออกถึงความสามารถทั้ง 4 ด้าน

* เพียเจต์ ขั้นที่ 1 แรกเกิด-2 ปี ใช้ Sensori Motor ขั้นประสาทสัมผัส
              ขั้นที่ 2 อายุ 2-4 ปี ขั้นอนุรักษ์ = ตอบตามตาเห็นยังขาดเหตุผล

* รับรู้ > เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม > เรียนรู้

* หลักการเลือกเนื้อหาการเรียน ( วิทยาศาสตร์ = สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา )
   1. เรื่องใกล้ตัว
   2. เรื่องที่เป็นผลกระทบ

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน ดูหน่วยการเรียนในโรงเรียนสาธิตฯ กลุ่ม 7 อนุบาลปีที่ 3 
 

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 2

วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* เรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม      รับรู้ = ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

* ทำกิจกรรมเขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนในรายวิชา
   การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3 ปี
2. แบ่งกลุ่มๆละ 4 คน ยกตัวอย่างสาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์มา 1 ตัวอยาง



วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 1

วันอังคาร ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* อธิบายข้อตกลงการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. สร้าง Blog
2. Link VDO เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. Link มาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


*** VDO ของเล่นและของใช้ ***


สรุปจาก VDO
    คุณครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ  สอนเด็กอนุบาลที่โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โดยให้เด็กๆได้รู้จักของเล่นและของใช้  โดยให้เด็กได้สังเกต  แยกประเภทของเล่นของใช้ 
รู้จักประโยชน์ของสิ่งของ  การเก็บสิ่งของให้เข้ากลุ่มกันอย่างเป็นระเบียบ  สร้างแรงจูงใจ
ในการเรียนรู้โดยการใช้นิทานที่เกี่ยวกับของเล่นของใช้  แล้วเอาสิ่งของที่ได้เล่าไปแอบ
ตามมุมห้อง  เพื่อให้เด็กช่วยกันค้นหา  ซึ่งทำให้เด็กๆรู้สึกตื่นเต้นที่ได้หาของเจอ  แล้วให้เด็ก
สังเกตสิ่งของที่หามาได้  เพื่อนำไปจำแนกจัดกลุ่มระหว่างของใช้กับของเล่น

การนำไปประยุกต์ใช้
    การสอนเรื่องของเล่นและของใช้สามารถเชื่อมโยงกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัยได้  โดยเด็กจะได้ฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์  เช่น ทักษะการสังเกต  
ทักษะการจำแนกประเภท  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  เป็นต้น
    บทบาทของครูจะต้องดูแลเอาใจใส่  สนใจ  อยู่ใกล้ชิดกับเด็กให้มากที่สุด  
และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก